อาณาจักรเหรียญกษาปณ์ทองคำ

เหรียญหล่อเจ้าพ่อเสือ รุ่นสองแผ่นดิน ๓มิติ ตราสัญญลักษณ์ ภปร. เนื้อทองคำ กรรมการ ปี๒๕๔๒ สร้างน้อย

SOLD OUT
฿0.00
เนื้อทองคำ ฝังเพชรแท้ ดาบสร้างจากทองคำขาว พิธีปลุกเสกวัดมังกรกมลาวาส(เล่งเน่ยยี่) ในวันเสาร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
  • หมวดหมู่ : เหรียญ-รูปหล่อองค์เทพ
  • รหัสสินค้า : 000918

รายละเอียดสินค้า เหรียญหล่อเจ้าพ่อเสือ รุ่นสองแผ่นดิน ๓มิติ ตราสัญญลักษณ์ ภปร. เนื้อทองคำ กรรมการ ปี๒๕๔๒ สร้างน้อย

  เหรียญหล่อเจ้าพ่อเสือ รุ่นสองแผ่นดิน ๓มิติ ตราสัญญลักษณ์ ภปร. เนื้อทองคำ กรรมการ ปี๒๕๔๒ สร้างน้อย พร้อมกล่องสภาพเหรียญสวยงามมากๆ สร้างในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษาครบ๖ รอบ

  พิธีปลุกเสกวัดมังกรกมลาวาส(เล่งเน่ยยี่) ในวันเสาร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

  จัดสร้างโดยวิทยาลัยกองทัพบก เป็นที่ระลึกครบ ๔๒ ปีเหรียญสวย พิธีใหญ่ หายากมาก ควรหาแก่การบูชาและสะสมครับ แขวนแล้วท่านคุ้มครองดวงชะตา แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอำนาจบารมี

  นน.ทองคำพ่นทรายขัดเงา ๑๘.๘ กรัม กว้าง ๒๒ มม. สูง ๓๕ มม.

  ตอกโค๊ต"ยันต์แปดทิศ" และ หมายเลขประจำองค์พระ ๗๑

  ผลิตโดยบริษัทแพรนด้าจิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)

  การบูชาเจ้าพ่อเสือ (ตั่วเล่าเอี้ย) มีความเชื่อในเรื่องการเสริมอำนาจและบารมี รวมทั้งเป็นการสะเดาะเคราะห์เพื่อเสริมมงคลให้แก่ตัวเองและครอบครัว เมื่อท่านได้ทำตามที่ว่าท่านลองสังเกตุดูท่านจะรู้สึกว่า ชีวิตของท่านจะดีขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์จริงๆ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เคยขัดขวางท่านกลับคลี่คลายและลดลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ 

ตำนานศาลเจ้าพ่อเสือ

คติของจีนโบราณเชื่อว่า ในรอบปีจะมี "ดาวนักษัตร" ซึ่งเป็นเทพแห่งสวรรค์เสด็จมาประทับปกป้องรักษาดูแลมวลมนุษยโลก ซึ่งในปีนี้ตรงกับ ดาวนักษัตรขาล หรือ เสือ (โฮ้ว) และหนึ่งในสถานศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สถิตแห่งดาวนักษัตร เป็นที่รู้จักกันดีทั่วไป ก็คือ "ศาลเจ้าพ่อเสือ"

ศาลเจ้าพ่อเสือ ตั้งอยู่เลขที่ 468 ถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพ มหานคร เป็นศาลเจ้าประจำลัทธิเต๋าของชาวจีนแต้จิ๋ว ชาวจีนเรียกว่า"ตั่วเล่าเอี้ย" หรือ รู้จักกันในนาม "เทพเฮี่ยงบู๊" ซึ่งเป็นดาวนักษัตรที่อยู่ประจำทิศอุดรหรือทิศเหนือ มีงูและเต่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์คู่กาย

ศาลเจ้าพ่อเสือ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ปีที่ก่อสร้างตรงกับปี พ.ศ.2377 มีความเกี่ยวเนื่องกับวัดมหรรณพาราม เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฎีราชเศรษฐีย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน