รูปหล่อหลวงปู่ทวด เบ้าทุบเล็ก วัดประสาทบุญญาวาส
ปี 2540 ชุดกรรมการ
สวยมาก เลขมงคล 46
พร้อมกล่องเดิมจากวัด
ขนาดองค์พระ สูง 2.0
ซม. กว้าง 1.2 ซม. ขนาดเล็กสวยมาก ชุดกรรมการ หมายเลขประจำชุด
46 ประกอบด้วย
1.เนื้อทองคำ
หนัก 14.7 กรัม
2.เนื้อเงิน
หนัก 7.5 กรัม
3.เนื้อนวะโลหะ
หนัก 6.6 กรัม
จัดสร้างขึ้นที่วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพมหานคร
โดยมีพิธีเททองเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน
2540 และพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่
ถึง 3 วัน
3 คืน
วันที่ 22-23-24 สิงหาคม
2540 โดยคณาจารย์ทั่วประเทศ
พิมพ์นี้เป็นพิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่ทวด หล่อโบราณ เบ้าทุบเล็ก รุ่นแรก ของวัดประสาทบุญญาวาส
ทำไมพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญาวาสจึงเป็นที่นิยมและศรัทธาอย่างสูงหลวงปู่ทวด
ในช่วงที่ท่านจำพรรษา ณ วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นท่านมักจะเดินธุดงค์มาทางภาคกลางแถบพระนครศรีอยุธยาบ่อยๆ
การมาแต่ละครั้งหลวงปู่ทวดมักจะพักปักกลดอยู่บริเวณท่าน้ำสามเสนกรุงเทพฯ
ซึ่งในอดีตนั้นเป็นป่ารกสงบเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนา
แล้วค่อยเดินทางกลับวัดช้างให้
บริเวณที่กล่าวมานี้ก็คือวัดประสาทบุญญาวาสในปัจจุบันนั่นเอง
ในปีพุทธศักราช 2498
วัดประสาทบุญญาวาสถูกเพลิงเผาผลาญครั้งใหญ่ ในคืนหนึ่ง พระอาจารย์ทิม
เจ้าอาวาสวัดช้างให้ได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวดโดยบอกให้ท่านไปช่วยบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส
กรุงเทพฯ ด้วยเนื่องจากถูกไฟไหม้ พระอาจารย์ทิมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ
เพื่อสืบข่าวว่านิมิตดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่
โดยเข้าพักที่วัดเอี่ยมวรนุชและได้รับการยืนยันว่า วัดประสาทบุญญาวาสถูกไฟไหม้จริง
ในวันรุ่งขึ้นท่านจึงเดินทางไปที่วัดประสาทบุญญาวาส
เพื่อปรึกษาหารือกับพระครูสมุห์อำพล ในการบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส
ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2502
พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นำแม่พิมพ์และมวลสาร 2497
พร้อมว่านแร่ดินกากยายักษ์มาที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้าง
พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านดำ แดง ขาว พิมพ์ที่ด้านหลังมีเจดีย์ และพิมพ์ที่ด้านหลัง
ไม่มีเจดีย์
พระครูบริหารคุณวัตร
เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรสได้มอบพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักชำรุดจากรุ่นเปิดกรุในปี 2500
เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดด้วย ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหม
รุ่นนี้ปลุกเสกโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2413
ในปีพุทธศักราช 2505
พระอาจารย์ทิม
ได้นำมวลสารสมเด็จนางพญาซึ่งจัดสร้างด้วยผงสมเด็จบางขุนพรหมล้วนๆนำมาพร้อมกับพระหลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีด
ซึ่งได้สร้างไว้ที่วัดช้างให้ นำมาเป็นแม่แบบ 3
พิมพ์ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางพิมพ์เล็ก
เพื่อถอดพิมพ์และให้พระเณรช่วยกันบดผงมวลสารจัดสร้างพระจนเสร็จแล้วพร้อมจัดพิธีพุทธาภิเษก
3 วัน 3
คืนในปีนั้น โดยมีพระคณาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นเข้าร่วมพิธีนั่งปรกปลุกเสกถึง 108
รูป ซึ่งเป็นการจัดสร้างพระเครื่องของวัดประสาทบุญญาวาส ครั้งที่ 2
โดยมีพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ดำเนินการร่วมกับพระครูสมุห์อำพล
วัดประสาทบุญญาวาสในปีพุทธศักราช 2505-2506-2508
วัดประสาทบุญญาวาส ได้จัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดจำนวน 84,000
องค์ เพื่อบรรจุเจดีย์และจัดสร้างพระกริ่งมหาสิทธิโชค
โดยได้รับมอบชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ฯ จากอาจารย์เทพ สาริกบุตร และพระอาจารย์ไสว
วัดราชนัดดา พร้อมทั้งจัดพิธีพุทธาภิเษก 7
วัน 7 คืน โดยพระคณาจารย์หลายร้อยรูป
สุดยอดพระเกจิมอบชนวนมวลสารและปลุกเสก
การจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดประสาทฯ ทั้ง 4
ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502-2505-2506-2508
นอกจากจะได้รับความเมตตาเป็นพิเศษจาก พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ มอบมวลสารหลวงปู่ทวดปี
2497 พระครูบริหารคุณวัตร
วัดใหม่อมตรสมอบผงสมเด็จบางขุนพรหม อาจารย์เทพ สาริกบุตรและพระอาจารย์ไสว
วัดราชนัดดา
มอบชนวนพระกริ่งจากสำนักต้นตำรับการสร้างพระกริ่งแล้วยังได้รับความเมตตาเป็นพิเศษจากพระเกจิในสมัยนั้น
มอบชนวนและมวลสารพร้อมทั้งเข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกจำนวนหลายร้อยรูป เช่น
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) ญาโณทัย, พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้, หลวงพ่อจง
วัดหน้าต่างนอก, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อพรหม
วัดช่องแค, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อคล้าย
วัดสวนขัน หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงปู่นาค
วัดระฆัง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงปู่ดู่
วัดสะแก, หลวงพ่อผล วัดหนัง, หลวงพ่อั้น
วัดพระญาติ, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม, หลวงพ่อเพิ่ม
วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด, หลวงพ่อปลื้ม
วัดสวนหงษ์, พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา
ชนวนและมวลสารพร้อมทั้งคณาจารย์ชื่อดังแห่งยุคในสมัยนั้นเป็นความสุดยอด
ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทยมารวมกันไว้ที่วัดประสาทบุญญาวาสซึ่งชนวนและมวลสารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังเหลืออยู่ที่วัดประสาทบุญญาวาสจำนวนหนึ่ง
จะได้นำมาจัดสร้างพระเพื่อสืบสานตำนานการสร้างพระหลวงปู่ทวดอันศักดิ์สิทธิ์ให้เลื่องลือเป็นนิรันดร์