อาณาจักรเหรียญกษาปณ์ทองคำ

เหรียญพระแก้วมรกต ภปร เนื้อทองคำ รุ่นแรก ครบชุด ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์200ปี สภาพสวย พิธีใหญ่ หายากมาก

SOLD OUT
฿0.00
พระราชพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2524 ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย ในหลวงรัชกาลที่9 เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพฯ โดยมีสมเด็จญาณสังวร ร่วมพุทธาภิเษก
  • หมวดหมู่ : เหรียญพระพุทธ
  • รหัสสินค้า : 001299

รายละเอียดสินค้า เหรียญพระแก้วมรกต ภปร เนื้อทองคำ รุ่นแรก ครบชุด ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์200ปี สภาพสวย พิธีใหญ่ หายากมาก

เหรียญพระแก้วมรกต ภปร เนื้อทองคำ รุ่นแรก ครบชุด ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200ปี สภาพสวย พิธีใหญ่ หายากสุดๆ

พระราชพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2524 ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย ในหลวงรัชกาลที่9 เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพฯ โดยมีสมเด็จญาณสังวร ร่วมพุทธาภิเษก

  เหรียญพระแก้วมรกต ภปร เนื้อทองคำ รุ่นแรก ครบชุด ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200ปี สภาพสวยสุดๆ พิธีใหญ่ น้ำหนักเหรียญแต่ละเหรียญ ประมาณ 18 กรัม

  เหรียญพระแก้วฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินร์ 200 ปี เป็นเหรียญที่ระลึกพระแก้วมรกต 3 ฤดู คือ
1.
ฤดูหนาว เหรียญจะเป็นแบบเหรียญกลม
2.
ฤดูฝน เหรียญจะเป็นแบบทรงหยดน้ำ
3.
ฤดูร้อน เหรียญจะเป็นแบบทรงวงรี รูปไข่

  นับเนื่องในปี พ.ศ.2525 อันเป็นปีมหามงคลแห่งบรมราชจักรีวงศ์ โอกาส กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีได้มีการตระเตรียมการจัด งานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีอย่างยิ่งใหญ่ และหนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวังแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานจัดสร้าง เหรียญพระแก้วมรกตหลัง ภปรขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นที่ระลึกและสมนาคุณแก่พสกนิกรที่ต้องการร่วมบริจาคสมทบทุนโดยเสด็จพระราชกุศลในการบูรณะครั้งนี้

     เมื่อการจัดสร้างเหรียญแล้วเสร็จสมบูรณ์ ได้ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2524 ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

     พระมหาเถระ 10 รูป นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบด้วย

1.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร (สุวัฑฒน มหาเถระ) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

2. พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

3. พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศิลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

5.หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมังกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

6.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

7.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี

8.พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

9.พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

10.พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ

    ในเวลาเดียวกันนี้ พระภาวนาจารย์และพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วราชอาณาจักรอีก 90 รูป ได้ร่วมพิธีนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่จิตตานุภาพ ณ วัดที่ประจำอยู่ ส่งพลังจิตภาวนารวมเป็นหนึ่งเดียวส่งไปยัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม”  อาทิ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม, หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง, หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย, หลวงพ่อไพบูลย์ วัดรัตนวนาราม (อนาลโย) จ.พะเยา, หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร, หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง, หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ฯลฯ

     โดยได้เปิดให้ประชาชนทั่วประเทศสั่งจองผ่านธนาคารพาณิชย์ในวันเดียวกันนั้น ปรากฏว่าเหรียญที่จัดสร้างจำนวน 1,000,000 เหรียญ ถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว ประชาชนที่พลาดการจองเรียกร้องให้คณะกรรมการดำเนินงานการจัดสร้างเพิ่มเติมอีก คณะกรรมการฯ จึงต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานสร้างชุดที่ 2 ขึ้น ทั้งนี้ พระองค์ทรงพระราชทานพระราชวินิจฉัยโปรดฯ ให้เพิ่มข้อความ พระราชศรัทธาไว้ใต้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปรเพื่อเป็นการจำแนกระหว่างการสร้าง ครั้งแรกกับ ครั้งที่สองและประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2524

    จากการสร้าง เหรียญพระแก้วมรกต ภปรทั้งสองครั้งนี้ ทำให้เหล่าพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศได้ร่วมสมทบทุนโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นถึง 220ล้านบาทเศษ ส่งผลให้งานบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามสำเร็จลุล่วงทัน งานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200ปีที่มีขึ้นในปีต่อมา อันนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้ของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ

     เหรียญพระแก้วมรกต ภปร ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525  จึงนับสิ่งมงคลล้ำค่าแทนความทรงจำอันยิ่งใหญ่แห่งการผนึกพลัง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่ทุกคนต่างหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นเกียรติประวัติสืบต่อลูกหลานครับผม

     ประวัติพระแก้วมรกตและการบูรณะวัดพระแก้ว โดยสังเขป

     พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ เป็นพระพุทธรูปที่ทำมาจากมรกตซึ่งเป็นตระกูลหินหยกชั้นดีที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีค่าประมาณมิได้ในปัจจุบัน   เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนตอนต้น  ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 43ซม. สูง 55ซม.ประวัติการสร้างพระแก้วมรกตไม่ชัดเจน มีหลายตำนานเช่น บางตำนานกล่าวว่าพระแก้วมรกตสร้างโดยพระอรหันต์ชื่อ พระนาคะเสนเถระ (น่าจะเป็นองค์เดียวกันกับผู้ที่ตอบปัญหาในเรื่องพระเจ้ามิลินท์)สร้างพระแก้วมรกตที่เมืองนครปาตาลีบุตร อินเดีย อดีตเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 500ปีปัจจุบันพระแก้วมรกต ประดิษฐ์ฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

     วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : อ.ราม วัชรประดิษฐ์  http://www.arjanram.com/content_detail.php?id=450&Page=13

 

/* Products stats */