เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดทองคำ
โครงการบูรณะโบราณสถานในบริเวณพระราชวังเดิม ปี2538 สวยพร้อมกล่อง
เหรียญพระเจ้าตากสิน
รุ่นบูรณะพระราชวังเดิม ปีพ.ศ.2538 กองทัพเรือ จัดสร้าง เนื่องในโอกาส
บูรณะโบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ พ.ศ.2538 เนื้อทองคำ99%
ผลิตโดย
PAMP S.A. ประเทศ Switzerland ขนาดเหรียญเส้นผ่าศูนย์กลาง2.5ซม.
ผ่านการปลุกเสกจากเกจิอาจารย์จากทุกภาคของประเทศไทยจำนวน 108รูป
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ทรงพระกรุณารับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการ
ทรงประกอบพิธีบวงสรวงและทรงเจิมแม่ตราเหรียญเมื่อวันที่ 15
พฤษภาคม
พ.ศ.2538
มีข้อมูลจากมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม
บันทึกว่า
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ.2310
พระองค์ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้
การที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น สันนิษฐานว่าเนื่องจากเป็นเมืองขนาดเล็ก
เหมาะสมกับกำลังไพร่พลที่พระองค์มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ
อยู่ใกล้ทะเลทำให้สามารถควบคุม เส้นทางเดินเรือเข้าออก
มีป้อมปราการเป็นชัยภูมิที่ดี
และตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำหากเพลี่ยงพล้ำก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเลได้สะดวก
หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังหลวง
ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์เดิม
(ซึ่งภายหลังได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์)
เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จัดสร้างเนื่องในโอกาส บูรณะโบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ ร่วมกับ
สมาคมภริยาทหารเรือ 30 กันยายน พ.ศ.2538 ครบชุดผลิตโดย PAMP S.A. ประเทศ Switzerland
ประกอบไปด้วย
เนื้อทองคำบริสุทธิ์ 99.99%น้ำหนัก 20 กรัม จำนวน 3,000
เหรียญ
เนื้อเงิน บริสุทธิ์ 99.9% น้ำหนัก 10 กรัม จำนวน 10,000
เหรียญ
เนื้อทองแดง บริสุทธิ์ 99.9% น้ำหนัก 8 กรัม จำนวน 100,000
เหรียญ
ประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ
สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า
สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน)[6]พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ
นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี
ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[7] เมื่อวันที่ 28
ธันวาคม
พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้
48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี
พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์[5]
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ
การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น
และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง
ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้
พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ
ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย
รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น
"วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://konkao.net/read.php?id=31079