พระกริ่งไพรีพินาศ รุ่น ภปร. ราชวิทยาลัย ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 2 ครั้ง คือครั้งแรกที่หอประชุมโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2535 โดยหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.ชลบุรี ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2535ที่วัดบวรนิเวศ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
โดยใต้ฐานพระกริ่งไพรีพินาศ ตอกโค๊ต 3ตัว คือตราพระนามย่อสมเด็จพระสังฆราช “ ญสส ” , ตราโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย และ ตราพระปรมาภิไธยย่อ “ ภปร “
เนื้อโลหะชนวนและมวลสารที่นำมาหลอมมีเหรียญ 108 เหรียญ,แผ่นยันต์ 108 แผ่น,ตะกรุดเก่า 108 ดอก ,ก้านช่อพระชัยวัฒน์ ลป.บุญ ,ชนวนโลหะมงคลของพระรุ่นเก่า,เหรียญสตางค์ ร.5,ผงตะไบพระกริ่งเก่าวัดสุทัศน์ พระกริ่งไพรีพินาศรุ่นนี้
ประวัติพระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระไพรีพินาศ เป็นพระนามของพระพุทธรูป ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ เก๋งบนชั้นสองของพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระศาลาแกะที่มีชนาดย่อม หน้าตักกว้าง 33ซม. และมีความสูงถึงปลายรัศมี 53ซม. สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงมีพระวินิจฉัยในสาสน์สมเด็จว่า พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปแบบมหายานปางประทับ นั่งประทานอภัย กล่าวคือ มีพระพุทธลักษณะเหมือนพระปางมารวิชัยหัตถ์ขวาที่วางอยู่บนพระชานุขี้น
พระไพรีพินาศองค์นี้มีผู้นำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และอยู่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระไพรีพินาศองค์นี้ทรงแสดงอภินิหารให้ปรากฏอริราช ศัตรูที่คิดปองร้าย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่างมีอันเป็นไป และพ่ายแพ้ภัยตนเอง พระองค์จึงโปรดให้ถวาย พระนามของพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ว่า พระไพรีพินาศ โดยมีหลักฐานเป็นกระดาษพับสอดไว้ใต้ฐานมีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดีย์ศิลาบัลลังก์องค์ จงมีนามว่าพระไพรีพินาศ ตตเทอญ" และอีกด้านเขียนว่า "เพราะตั้งแต่ทำมาแล้ว คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ" หลักฐานดังกล่าวได้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2507 ระหว่างซ่อมแซมพระเจดีย์ 96 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร