เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช รุ่ น 600 ปี วัดเจดีย์หลวง ผลิตปี2538 จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อทองคำ 22.9 กรัมสวยมากพร้อมตลับเดิมๆ
ด้านหน้าพระรูปสมเด็จพระญาณสังวร ด้านหลังตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ญสส. เหรียญหนา 3 มม. พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ เป็นเหรียญของสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่ลูกศิษย์ท่านตามเก็บน่าสะสมมาก ไม่ควรพลาด สำหรับสายตรงทางนี้
จำนวนสร้างประกอบด้วย
1. เนื้อทองคำ
2. เนื้อนวะ สร้างน้อยมากครับ เพียง 300 เหรียญ
3. เนื้อเงิน
4. ทองแดงกะไหล่ทอง
5.ทองแดง
พระเกจิอาจารย์ 600 รูป (ทั่วประเทศ) ร่วมพิธีปลุกเสก โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี
พิธีมหาพุทธาภิเษกและสมโภช เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2538 ณ วัดเจดีย์หลวง มีพระเกจิอาจารย์ 600 รูป ร่วมพิธีอาทิเช่น:-
1.สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิตร กทม.
2. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กทม.
3. พระธรรมปัญญาบดี วัดปากน้ำ กทม.
4.พระธรรมสิริสารเวที วัดบวรนิเวศ กทม.
5.พระธรรมวราลังการ (ลป.ศรีจันทร์ ) วัดศรีสุทธาวาส เลย
6.พระเทพสิทธิญาณรังสี (หลวงตาจันทร์) วัดป่าชัยรังสี สมุทรสาคร
7.พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ) วัดป่าสาลวัล นครราชสีมา
8.พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี
9. พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
10.พระวิมลธรรมญาณเถร (หลวงปู่ทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี เชียงใหม่
11.พระวิสุทธิญาณเถร ( หลวงพ่อสมชาย) วัดเขาสุกิม จันทบุรี
12. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย
13.พระญาณทีปปาจารย์ (หลวงปู่ท่อน) วัดศรีอภัยวัน เลย
14.พระญาณวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ) วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
15.พระญาณวิศิษฐ์ (หลวงพ่อทอง) วัดอโศการาม สมุทรปราการ
16.พระสุนทรธรรมากร (หลวง ปู่คำพันธ์) วัดธาตุมหาชัย นครพนม
17.พระภาวนาพิศาล (พระอาจารย์ถาวร) วัดปทุมวนาราม กทม.
18.พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
19. พระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
20.พระปัญญาพิศาลเถร (พระอาจารย์ไพบูลย์) วัดอนาลโย พะเยา
21.พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงพ่อเปลื้อง) วัดบางแก้วผดุงธรรม พัทลุง
22.พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ (หลวงปู่แว่น) วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง
23.พระครูกการุณธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง) วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
24.พระครูสุภัทรศิลคุณ (ครูบาดวงดี) วัดท่าจำปี เชียงใหม่
25.พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ครูบาชัยวงศ์) วัดพระบาทหห้วยต้ม ลำพูน
26.พระครูชัยวงศ์วิวัฒน์ (ครูบาน้อย) วัดบ้านปง เชียงใหม่
27. พระครูนิมมานกการโสภณ (ครูบาสร้อย) วัดมงคลคีรีเขตสายเมือง ตาก
28.ครูบาสามีแสงหล้า วัดพระธาตุสายเมือง พม่า
29.ครูบาบุญชุ่ม วัดพระธาตุดอนเรือง พม่า
30.พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย) วัดถ้ำผาจม เชียงราย
31.หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบ ฯ
32.พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม เชียงใหม่
33. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอิน) วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่
34.พระครูพิศิษฐ์สังฆการ (ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
35.พระสุพรหมยานเถร (ครูบาทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
36.พระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
37.พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงพ่อหยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
38. หลวงปู่บุญ วัดบ้านนา ระยอง
39. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
40.พระราชมงคลญาณ วัดปากน้ำ กทม.
41.พระภาวนาวิสุทธาจารย์ วัดไตรมิตร กทม.
42.หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อุดร ฯ
43.หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชโช วัดป่านิโครธาราม อุดร
44.พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวกเชียงใหม่
45.พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ) วัดใหม่เสนานิคม กทม.
46.หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดป่าประชาชุมพล อุดร ฯลฯเป็นต้น
เหรียญสมเด็จพระญาณสังวรฯ เนื้อทองคำ พ.ศ.2538สมโภช 600 ปี พระธาตุเจดีย์หลวง วัดพระเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ คอลัมน์.."มุมพระเก่า" จากหนังสือพิมพ์ :ข่าวสด.เมื่อ : 10 พ.ค. 2551 โดย...สรพล โศภิตกุล.....
*** มีเหรียญพระเครื่อง "เหรียญดี" เหรียญหนึ่งมาแนะนำ เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นในคราวสมโภช 600 ปี พระธาตุเจดีย์หลวง วัดพระเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ วัดเจดีย์หลวง มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร, วัดโชติการาม มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พญากือนา พระราชบิดา แต่ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่า วัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ.1934 หากสร้างไม่ทันเสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระมเหสีได้ควบคุมการก่อสร้างต่อมาจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า กู่หลวง แต่ครั้งนั้นสร้างไม่สูงใหญ่เท่าใดนัก ในรัชสมัยพญาติโลกราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นด้ามพร้าคต เป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการซ่อมเสริมสร้างต่อสูงถึง 45 วา แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่มุขด้านตะวันออกขององค์เจดีย์ เป็นระยะเวลานานถึง 80 ปี คือระหว่างปี พ.ศ.2011-2091 หากแต่ในปี พ.ศ.2088 ในสมัยพระมหาเทวีจิรประภา ยอดเจดีย์หลวงได้หักลงมา เนื่องเพราะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
ในปี พ.ศ.2533-2535 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์หลวงขึ้น นอกจากนี้ วัดเจดีย์หลวงยังเป็นที่ตั้งของเสาอินทขีล ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่วัดสะดือเมือง เมื่อสมัยพระเจ้ากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายเสาอินทขีลมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวง พร้อมกับสร้างวิหารครอบและปลูกต้นยางคู่ไว้ข้างวิหาร กับสร้างยักษ์ 2 ตนให้เฝ้ารักษาเสาอินทขีล
ในคราวงานสมโภช 600 ปี เจดีย์หลวง ได้มีการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชขึ้นมา ซึ่งออกแบบแกะลวดลายได้อย่างสวยงามมาก เป็นเหรียญที่มีความหนาถึง 3 มิลลิเมตร ที่ขอบเหรียญมีการตอกอักษรไว้ว่า "600 ปี วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่" เป็น "เหรียญดี" น่าเก็บสะสมยิ่ง ทั้งอายุการสร้างที่ผ่านเกือบ 20 ปี ความงดงามของเหรียญ ทั้งพิธีการสร้างที่นับว่าอลังการอย่างที่สุด ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกและสมโภช เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2538 ณ วัดเจดีย์หลวง มีพระเกจิอาจารย์ 600 รูป ร่วมพิธี โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี และมีพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมในพิธีที่นับว่าโดดเด่น อาทิเช่น: -หลวงพ่อเปิ่น วัดกลางบางพระ จังหวัดนครปฐม -หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา -หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา -หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี -หลวงพ่อวิริยังค์, -หลวงปู่ท่อน, -หลวงปู่แว่น, -ครูบาน้อย, -ครูบาเทือง, -หลวงปู่คำพันธ์ ครบเครื่องเรื่องปลุกเสก อย่างไม่ต้องตัดต่อภาพโฆษณากัน ความเป็นเหรียญดีที่ว่านี้ หมายถึง..เจตจำนงของการสร้างนั้นดี มวลสารครบถ้วน กระทั่งพิธีการเข้มขลัง เมื่อครบถ้วนกระบวนการเช่นนี้ ย่อมเป็นวัตถุมงคลที่ดี เช่นเหรียญปั๊มรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
"มุมพระเก่า" สรพล โศภิตกุล ที่มาจากหนังสือพิมพ์ :ข่าวสด โพสต์เมื่อ : 2008-05-10, 10:50